คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้งที่ 12

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น
 
คำขวัญรณรงค์สุรา
กลุ่มที่1 สุราเป็นยาเสพติด พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย (ส้ม ภา)
กลุ่มที่ 2เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง( มะปราง)
กลุ่มที่ 3 สุราเป็นยาพิษ ดื่มนิดๆก็ติดใจ
ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลผิดสุรา( แอม อ้อม)
กลุ่มที่ 4 ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม ( ฝน ริตา)
กลุ่มที่ 5 สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง)
กลุ่มที่ 6 สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา( กิ๊ฟ ซะห์)
กลุ่มที่ 7 สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม ( แก้ม เบลล์)
กลุ่มที่ 8สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย ( ศิ หนูนา)
กลุ่มที่ 9สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย ( ปูนิ่ม นุ่น)
กลุ่มที่ 10 ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว (โอม โอ)
กลุ่มที่ 11 เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า (แอน วาว)
กลุ่มที่ 12 สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ (หลัน จ๋า)
กลุ่มที่ 13 ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเนาเพื่อมรณภาพ (สา กุ้ง)
กลุ่มที่ 14 สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย (ซาร่า แก้ว)
กลุ่มที่ 15รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา ( กวาง เมย์)
กลุ่มที่ 16 สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า (บี รัตน์)

- อาจารย์เปิดการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งเขียนโดย นฤมล เนียมหอม
- แนวคิดที่ได้จากนิทาน 1. การยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของตนเองที่ไม่เหมือนผู้อื่น
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน ดร.นฤมล เนียมหอม จากแนวคิดพื้นฐานที่ว่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เรื่องราวในนิทานมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น คุณครูแมว –ดร. นฤมล เนียมหอม จึงได้คิดองค์ความรู้ “การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน” โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย จนมาทำเป็นเต็มรูปแบบในโรงเรียนทุ่งมหาเมฆตั้งแต่ปี 2550 โดยในขั้นตอนการเรียนรู้เด็ก ๆ จะเป็นผู้เลือกนิทานด้วยตัวเอง จากนั้นคุณครูจะนำนิทานที่เด็ก ๆ เลือกมาประยุกต์ใช้ในการคิดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ทั้ง 6 กิจกรรม วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนุกกับการเรียนรู้เหมือนอยู่ในโลกนิทานตลอดทั้งวัน
ตัวอย่างนิทานเรื่อง ช้างน้อยอัลเฟรด
เรื่องย่อ อัลเฟรดเป็นช้างที่มีงวงยาวมากอัลเฟรดรู้สึกอายที่ตนเองมีงวงยาวกว่าช้างตัว อื่นๆ จึงพยายามซ่อนงวงของตนวันหนึ่งอัลเฟรดได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือของ เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่น อัลเฟรดได้ใช้งวงช่วยเด็กผู้หญิงลงมา สัตว์อื่นๆ พากันชื่นชมอัลเฟรด ตั้งแต่นั้นมาอัลเฟรดก็อยู่อย่างมีความสุขแม้ว่าตนเองจะไม่เหมือนใคร

หลังจากที่ครูเล่าเรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" ให้เด็กฟังแล้ว เด็กๆ ผลัดเปลี่ยนกันออกมาเล่าเรื่องให้เพื่อนๆ ฟัง ทั้งการเล่าเรื่องจากหนังสือนิทาน และเล่าเรื่องโดยการเรียงลำดับภาพเหตุการณ์จากนิทาน กิจกรรมนี้เป็นการส่งเสริมความสามารถในการจับใจความจากการดูภาพและฟังเรื่อง ราว เด็กได้ฝึกแปลความ ตีความ คาดคะเนตรวจสอบความเข้าใจของตนเอง และเก็บประเด็นสำคัญ แล้วผสมผสานสิ่งที่ฟังเป็นเรื่องราว แล้วพูดถ่ายทอดความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน
เด็กๆ แสดงละครสร้างสรรค์เรื่อง "ช้างน้อยอัลเฟรด" โดยครูช่วยเล่าเรื่องเด็กๆ พูดและแสดงบทบาทตามความรู้สึกของตนเอง เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกสัญลักษณ์ที่เหมาะสมในการนำเสนอความคิด ด้วยสีหน้า ท่าทาง และคำพูดให้เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
เด็กๆ ช่วยกันประดิษฐ์ช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งทำให้เด็กรู้จักการทำงานตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ฉีกกระดาษ ทากาว ปะกระดาษบนกล่อง นำฟองน้ำจุ่มสีมาปั๊มที่ตัวช้าง ติดขา ติดงวง ติดหาง ทาสีเพิ่มเติม และติดตา เด็กๆ ได้ทำงานแบบร่วมมือ มีความคิดในเรื่องของการประดิษฐ์ของเล่นด้วยตนเอง รวมทั้งมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
เด็กๆ เล่นเกมจับคู่ช้างที่เหมือนกัน เด็กๆ สนุกกับการสังเกตความเหมือนและความต่างของภาพ และตามหาเพื่อนที่ได้รูปช้างรูปเดียวกัน
เด็กๆ ประดิษฐ์ช้างด้วยการบีบกาวตามแนวเส้น แล้วนำทรายสีมาโรย เด็กๆฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กและได้เรียนรู้ว่าทรายติดอยู่ เฉพาะส่วนที่มีกาวเท่านั้น
เด็กๆ ประดิษฐ์ดอกทานตะวันเพื่อสร้างฉากในห้องเรียน เช่นเดียวกับปกหนังสือนิทานเรื่องช้างน้อยอัลเฟรด เด็กได้ฝึกทักษะการใช้กรรไกร ฝึกการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อเล็กอีกทั้งยังมีโอกาสได้ชื่นชมและสร้าง สรรค์สิ่งสวยงามอีกด้วย
เรื่องของช้างน้อยอัลเฟรดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสวนสัตว์การไปทัศนศึกษาที่ สวนสัตว์ดุสิตจึงทำให้เด็กได้เชื่อมโยงเรื่องราวในนิทานกับสถานที่จริง ได้สังเกตช้างอย่างใกล้ชิด ได้ให้อาหารช้างเห็นรูปจำลองช้างหลายรูปแบบรวมทั้งได้เล่นกระดานลื่นเหมือน ในนิทานด้วย
เด็กๆ สังเกตรูปนูนต่ำช้างที่รั้วบ้านตรงข้ามกับโรงเรียนกิจกรรมนี้ช่วยให้เด็ก เรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของช้างได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากสามารถจับต้องได้อย่างใกล้ชิด ทำให้เด็กบางคนมีการเปลี่ยนแปลงการวาดรูปช้างอย่างเห็นชัด
เด็กๆ ต่างประหลาดใจมากเมื่อระบายสีกระดาษแล้วพบช้างงวงยาว ช้างหูใหญ่ และช้างขายาวซึ่งแตกต่างกัน เด็กๆ เรียนรู้ที่จะจำแนกช้างที่แตกต่างกัน รวมทั้งเรียนรู้ว่าแม้เราจะต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
เด็กๆ ใช้พิมพ์กดขนมปัง และตกแต่งด้วยแยม เพื่อทำเป็นขนมปังรูปช้าง เด็กๆ ได้ใช้xระสาทสัมผัสทั้งห้า ตั้งแต่การมองเห็น สัมผัส ได้ยินเสียงถุงขนม เสียงจากขวดแยมได้ดมกลิ่น และได้ลิ้มรส ซึ่งเป็นประสบการณ์พื้นฐานที่สำคัญของการคิด
เด็กๆ ทำท่าทางประกอบเพลงช้างน้อยอัลเฟรด กิจกรรมนี้ทำให้เด็กๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสนุกสนาน ฝึกการทรงตัว และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อใหญ่


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น